ระเบียบวาระที่  ๓     เรื่องเสนอเพื่อทราบ
                          ๓.๖  รายงานจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้เสียตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗
 
สรุปเรื่อง  
 
                    จากการสำรวจความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้เสียตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ งานสื่อสารองค์การและการตลาด กองกลาง สำนักงานอธิการบดี ได้ทำการสำรวจความพึงพอใจ ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามพันธกิจของ มหาวิทยาลัย เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาตอบตัวชี้วัด ยุทธศาสตร์ที่ ๔ ด้านการบริหารจัดการ กลยุทธ์ที่ ๔.๑ ตัวชี้วัด ๔.๑.๔.๑ เรื่องค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้เสียตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย และนำผลที่ได้มาปรับปรุงการบริหารงานตามพันธกิจในด้านต่าง ๆ พร้อมขับเคลื่อนให้บรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจ มหาวิทยาลัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗  โดยทำแบบสำรวจผ่าน Google Form โดยส่งผ่านระบบ E-SARABAN ไปยังคณะ หน่วยงาน เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๖ โดยมีผู้ตอบแบบสอบถาม (ณ ปัจจุบัน)  จำนวน ๑๓๗ คน ซึ่งมีจำนวนผู้ตอบมีจำนวนน้อยไม่ถึงครึ่งของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่กำหนดไว้จำนวน ๔๐๐ คน (ตามสูตรของ Krejcie & Morgan) ซึ่งแยกเป็นกลุ่มมีรายละเอียดดังนี้
(ข้อมูล ณ วันที่ ๒๘/๑๒/๖๖)
          * หมายเหตุ : เกณฑ์การพิจารณาระดับความพึงพอใจ
สถานภาพ     รวม
ศิษย์เก่า ๗๒
ผู้ปกครองนักศึกษา ๑๔
ประชาชนทั่วไป, ประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ๔๓
ผู้ใช้บัณฑิต (ผู้จ้างงานบัณฑิต)
รวมทั้งสิ้น ๑๓๗
   
 ค่าเฉลี่ยระหว่าง ๔.๕๑ – ๕.๐๐ หมายถึง ระดับความพึงพอใจดีมาก
          ค่าเฉลี่ยระหว่าง ๓.๕๑ – ๔๕๐  หมายถึง ระดับความพึงพอใจดี
          ค่าเฉลี่ยระหว่าง ๒.๕๑ – ๓.๕๐ หมายถึง ระดับความพึงพอใจปานกลาง
          ค่าเฉลี่ยระหว่าง ๑.๕๑ – ๒.๕๐ หมายถึง ระดับความพึงพอใจน้อย
          ค่าเฉลี่ยระหว่าง ๑.๐๐ – ๑.๕๐ หมายถึง ระดับความพึงพอใจน้อยที่สุด
          พันธกิจ ๔ ด้าน ได้แก่ ๑) ด้านการเรียนการสอน  ๒) การวิจัย  ๓) การบริการวิชาการ ๔) การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
 
แนวทางแก้ไข กรณีผู้ตอบแบบสอบถามมีจำนวนน้อย
* เนื่องจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นกลุ่มบุคคลภายนอก
กลุ่มเป้าหมายตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย
๑. ศิษย์เก่า
๒. ผู้ปกครองนักศึกษา
๓. ประชาชนทั่วไป ประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
๔. ผู้ใช้บัณฑิต (ผู้จ้างงานบัณฑิต)
 
        ๑. ผู้บริหารและหัวหน้าหน่วยงานต่างๆ  ช่วยกระตุ้นผู้ที่เกี่ยวข้องและเน้นย้ำความสำคัญของการตอบแบบสอบถาม เพื่อให้ได้จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามตามเกณฑ์ และสามารถนำผลที่ได้มามาอ้างอิง และนำมาพัฒนาภาพรวมตามพันธกิจในด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ได้อย่างเหมาะสม โดยให้มีผลตอบแบบสอบถามส่งกลับมายังส่วนกลาง คิดเป็นร้อยละ ๘๐ ของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของคณะ/หน่วยงาน นั้นๆ   (ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดของคณะ/หน่วยงาน)
        ๒. งานสื่อสารองค์การและการตลาด จะดำเนินการจัดทำแบบสอบถามภาพรวม ผ่าน Form ในการตอบแบบสอบ โดยส่งลิงค์และ QR CODE ไปยังคณะ/หน่วยงาน 
        ๓. งานสื่อสารองค์การและการตลาด สามารถจัดทำแบบสอบถามในลักษณะของเอกสาร (พิมพ์เป็นกระดาษ) เพื่อสะดวกต่อกลุ่มเป้าหมายในการตอบ (กรณีที่คณะ/หน่วยงาน แจ้งความประสงค์ เพื่อให้สะดวกต่อกลุ่มเป้าหมายในการตอบ)
        ๔. บางกรณีจำเป็นต้องใช้การเก็บข้อมูลในลักษณะ การสัมภาษณ์ (อ้างอิงประเด็นคำถามจากแบบสอบถาม กรณีที่ผู้ตอบแบบสอบถามอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ เป็นต้น)
        ๕. จัดทำแบบสอบถามโดยส่งผ่านทาง SMS หรือช่องทางสื่อออนไลน์ ที่เหมาะสม (โดยประสานกับงานศูนย์คอมพิวเตอร์)
        ๖. จัดทำและดำเนินการเก็บแบบสอบถาม
            ๖.๑  สรุปผลภายในเดือน ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗
จึงเสนอต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยเพื่อทราบ                                                                            
 
กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวขัอง
   
 
ประเด็นเสนอเพื่อทราบ
 
 
มติคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย
    ...............................................................................................................................................................
    ...............................................................................................................................................................
    ...............................................................................................................................................................
    ...............................................................................................................................................................